ประชาพิจารณ์(ร่าง) รายละเอียด คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ชุดเทริน์เอาท์

(ร่าง) ประกาศชุดเทิร์นเอาท์

2 thoughts on “ประชาพิจารณ์(ร่าง) รายละเอียด คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ชุดเทริน์เอาท์

  • 2 ธันวาคม 2020 at 7:29 น.
    Permalink

    เรียนผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง
    ตามที่วิทยาลัยเทคนิคนครลำปางได้มีประกาศประชาพิจารณ์(ร่าง)รายละเอียดครุภัณฑ์ ชุดเทริน์เอาท์สับหลีกทางแบบหลายเส้นทาง (Multi turnout) สำหรับการเรียนและการฝึกปฏิบัติระบบงานทางรถไฟและรถไฟความเร็วสูงเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์งานติดตั้ง ซ่อมบำรุง อุปกรณ์ในงานสาขา track work ระบบตรวจจับรถไฟบนทางวิ่ง ระบบจ่ายไฟรถไฟฟ้าความเร็วสูง และอุปกรณ์บนทางวิ่งรถไฟอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ ทางบริษัทมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดทางเทคนิครายการครุภัณฑ์ดังนี้
    1. ควรมุ่งเน้นไปที่ครุภัณฑ์หลักคือชุดประแจสับราง ชุดฝึกปฏิบัติทางวิ่งรถไฟ อุปกรณ์จ่ายไฟเหนือศีรษะ และอุปกรณ์ประกอบสำหรับการฝึกปฏิบัติงานในวิชาชีพระบบรางมากกว่ารายละเอียดอุปกรณ์ประกอบอาทิเช่น เครื่องประมวลผลช่วยสอน และชุดกระดานอัจฉริยะ
    2. อุปกรณ์ประกอบในรายการควรมีความสอดคล้องกับการใช้งานในการเรียนการสอนกับครุณภัณฑ์หลักคือชุดประแจและอุปกรณ์งานทางรถไฟความเร็งสูง เสนอควรให้เพิ่มฝึกปฏิบัติงานทาง ชุดฝึกประกอบราง ชุดฝึกเครื่องยึดเหนี่ยว และชุดฝึกวงจรไฟตอนเพิ่ม แทนรายการที่ 2.6
    3. ขอให้พิจารณาตัดเสปคในรายการ เครื่องประมวลผลช่วยสอนบางข้อออก เนื่องจากอาจจะเป็นการเข้าข่ายมุ่งเน้นจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าครุภัณฑ์หลักคือชุดประแจสับราง ซึ่งคุณลักษณะบางข้อไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบด้วย
    – 2.5.3 ขอให้ตัดข้อความคำว่า intel H470 เป็นการชี้เฉพาะยี่ห้อนี้เท่านั้น แผงวงจรหลักจะมุ่งเน้นที่ความเร็วและความจุภายในเป็นหลัก
    – 2.5.7 ขอให้ตัดออกเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสูงและทันสมัยอย่างยิ่งการสื่อสารสามารถใช้ได้ทั้ง USB และ wifi จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ Expansion slot กับอุปกรณ์สับรางหรือควบคุมระบบรถไฟใดๆ หากคงไว้อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นการจงใจนำอุปกรณ์ประกอบไปใช้กับงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับครุภัณฑ์หลักและไม่เป็นประโยชน์กับการเรียนวิชาระบบราง
    – 2.5.13 ขอให้ตัดออกหรือเพิ่มคำอธิบายในเสปคถึงการใช้งาน web แบบติดตั้งใจจอภาพต่อการเรียนปฏิบัติงานระบบสับรางและงานทางรถไฟ เพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นของการตั้งเสปคไม่นำครุภัณฑ์ไปใช้งานที่ไม่สอดคล้องกับครุภัณฑ์หลัก
    – 2.5.17 ขอให้ตัดออกหรือเพิ่มคำอธิบายในเสปคถึงการใช้งาน TPM v2.0 ต่อการเรียนปฏิบัติงานระบบสับรางและงานทางรถไฟ เพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นของการตั้งเสปคไม่นำครุภัณฑ์ไปใช้งานที่ไม่สอดคล้องกับครุภัณฑ์หลัก
    – 2.5.18 ขอให้ตัดออกเพราะผู้ผลิตสมัยใหม่มุ่งเน้นที่จะพัฒนาอุปกรณ์ประหยัดพลังงานการระบุวัตต์สูงจะทให้ได้เทคโนโลยีเก่าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผิดจากนโยบายประเทศ
    – 2.5.19 ขอให้ตัดออก เพราะจะทำให้พลาดโอกาสที่จะได้เครื่องชนิด PC ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีคุณสมบัติดีกว่า all in on แทบทุกประการ
    – 2.5.20,2.5.21,2.5.22,2.5.23 ขอให้ตัดออก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อมีประกัน onsite สามารถแจ้งจำนวนปีรับประกันได้ ควรไปมุ่งเน้นที่เสปคของครุภัณฑ์หลักที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางสำหรับการฝึกปฏิบัติงานเพื่อการสนับสนุนความสามารถของนักศึกษาในระบบงานทางรถไฟ
    – 2.5.5 มีข้อความ 2.5.6 ซ้อนเข้ามา
    4. ขอเสนอแนะเปลี่ยนรายการที่ 2.6 เป็นการเพิ่มรายการอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกปฏิบัติงานทางรถไฟเพื่อประโยชน์ต่อการฝึกทักษะสำหรับการแข่งทักษะระบบราง และการสร้างความสามารถนักศึกษาให้ได้งานทำในตลาดระบบขนส่งทางราง ประกอบด้วย
    – ชุดฝึกปฏิบัติงานทางรถไฟชนิด slab track แบบทางมาตรฐานความยาวไม่น้อยกว่า 3 เมตร จำนวน 1 ชุด
    – ชุดฝึกประกับรางแบบ 60kg จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกประกับรางแบบ BS100 จำนวน 2 ชุด
    – ฝึกประกับรางแบบ BS80 จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกเครื่องยึดเหนี่ยวรางรถไฟความเร็วสูงแบบ WJ8 จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกเครื่องยึดเหนี่ยวรางรถไฟความเร็วสูงแบบ WJ7 จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกเครื่องยึดเหนี่ยวรางรถไฟแบบ type V จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกเครื่องยึดเหนี่ยวรางรถไฟแบบ type IV จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกเครื่องยึดเหนี่ยวรางรถไฟแบบ clip I/II จำนวน 2 ชุด
    – ชุดฝึกปฏิบัติวงจรไฟตอนตรวจจับรถไฟ จำนวน 5 ชุด
    ขอแสดงความนับถือ
    นายวัฒนา สมานจิตร
    กรรมการผู้จัดการบริษัท ทริพเพิล อ็กซ์เพิร์ท จำกัด

    Reply
  • 3 ธันวาคม 2020 at 5:23 น.
    Permalink

    เรียน ท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง
    อ้างถึงประกาศพิจารณ์(ร่าง) คุณสมบัติครุภัณฑ์ชุดเทริน์เอาท์สับหลีกทางแบบหลายเส้นทาง (Multi turnout) ทางบริษัทมีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับแก้ ดังนี้
    1. คุณสมบัติเครื่องประมวลผลช่วยสอนในรายการที่ 2.5 มีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะไปที่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตบางรายลงเกินอาจจะส่งผลให้ไม่มีผู้ที่สามารถเข้าแข่งขันได้
    2. คุณสมบัติของอุปกรณ์เสริมกระดานซอฟแวร์อัจฉริยะในรายการที่ 2.6 มีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะไปที่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตบางรายลงเกินอาจจะส่งผลให้ไม่มีผู้ที่สามารถเข้าแข่งขันได้
    3. ขอเสนอแนะให้เพิ่มเติมอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติงานทางรถไฟให้ครอบคลุมการฝึกดังนี้
    – เครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับการฝึกปฏิบัติตามมาตรฐานรถไฟจีน (GB) แบบ WJ8 แบบ WJ7 แบบ Type IV Type V และแบบ clip I/II จำนวนไม่น้อยกว่าแบบละ 1 ชุด
    – อุปกรณ์ชุดประกับรางแบบ 60kg ตามมาตรฐาน GB จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ชุด
    ขอแสดงความนับถือ
    นายสุธี โพธิ์จันทร์
    กรรมการผู้จัดการ
    บริษัท เอสทีพี แอ็ดวานซ์ โพรดักส์ จำกัด

    Reply

ส่งความเห็นที่ Suthee Phochan ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น